เมนู " วัดประดู่พระอารามหลวง "
   ตำนานวัดประดู่ พระอารามหลวง
   หลวงพ่อใหญ่ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
   หลวงปู่แจ้ง  ปุณยจนฺโท
   ประวัติเจ้าอาวาส (พระมหาสุรศักดิ์ฯ)  
   หัตถประติมากรรม " หุ่นดินสอพอง "
   CD เพลงชุด รวยแน่นๆ
   ติดต่อเราและแผนที่ / Facebook
   วัตถุมงคลวัดประดู่ พระอารามหลวง
   วัตถุมงคลที่เมตตาอุปถัมป์ฯ
      - เหรียญพระนาคปรกเจริญพร
      - พระเจ้าสัว อัมพวา
      - เหรียญหล่อพระพรหมประสิทธิ์
      - หลวงปู่ทวด รุ่น เมตตาบารมี
   
   



 

 


รูปปั้นหลวงปู่แจ้ง ตั้งเด่นอยู่ภายในพิพิธภัณฑ์เครื่องราชศรัทธา รัชกาลที่ 5

                    “ วัดประดู่ ” นั้นเป็นวัดโบราณ ไม่มีผู้ใดรู้ถึงประวัติที่แท้จริง ชาวบ้านในแถบนั้นสันนิษฐานว่าคงสร้างในราวปลายกรุงศรีอยุธยา ประมาณ พ.ศ. 2320 จากการค้นคว้าทางวิชาการก็พอจะถือได้ว่า “ วัดประดู่ ” นี้เป็นวัดที่เก่าแก่วัดหนึ่งในย่านจังหวัดสมุทรสงคราม ตามประวัติวัดประดู่ อดีตเจ้าอาวาสที่ดำรง ตำแหน่งอยู่ในสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสต้นมาที่วัดก็คือ “ หลวงปู่แจ้ง ” ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 4 มีผู้รู้ได้บันทึกเหตุการณ์ ครั้งนั้นไว้ว่า... รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์พระองค์ท่านได้เสด็จประพาสต้นทางน้ำเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2447 โดยเรือพระที่นั่งผ่านคลองหน้าวัด ประดู่ และได้แวะทำครัวเสวยพระกระยาหารเช้าเสด็จพระองค์ทรงนึกแปลกใจว่า เพราะเหตุใดชาวบ้านจึงได้มาชุมนุมกัน ณ ที่ศาลาท่าน้ำกันมาก จึงตรัสให้ กรมพระยาดำรงราชานุภาพไปสอบถามพวกชาวบ้านที่มาชุมนุมกันจึงได้ความว่า “ หลวงปู่แจ้ง ” เจ้าอาวาสวัดประดู่แห่งนี้ท่านเป็นพระที่มีวิชาอาคมสามารถ รักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ และที่เลื่องชื่อที่สุดก็คือน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ บุคคลใดที่โดนผีเข้าหรือโดนคุณไสยถ้าได้มาเจอน้ำมนต์ของหลวงปู่แจ้งแล้วจะได้ผลทุกรายไป ผีตัวใดก็ไม่อาจทนอยู่ได้ ส่วนยาศักดิ์สิทธิ์นั้นก็เช่นกัน ทำขึ้นจากใบมะกาใช้คู่กับน้ำมนต์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทราบความจากกรม พระยาดำรงราชานุภาพแล้วท่านก็ทรงเสด็จออกจากวัดประดู่ จากนั้นมาไม่นาน “ หลวงปู่แจ้ง ” ก็ได้รับนิมนต์เข้าไปในพระราชวังเพื่อรักษา “ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นภูธเรศดำรงค์ศักดิ์ ” เมื่อ “ หลวงปู่แจ้ง ” ถวายการรักษาเสร็จจนมีพระอาการดีขึ้น ทำให้พระองค์ทรงเลื่อมใสในความสามารถของหลวงปู่ ก่อนที่ หลวงปู่จะลากลับจึงทรงพระราชทานเครื่องอัฏฐบริขาร เตียงบรรทม เก๋งเรือ ปิ่นโต ฯลฯ ให้เป็นที่ระลึก การที่องค์พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จมายัง วัดประดู่ตามประวัติศาสตร์นั้นพระองค์ได้ทรงถวายเครื่องราชศรัทธาที่น่าสนใจไว้แก่วัดอีกหลายชิ้นด้วยกัน ทางวัดประดู่จึงได้รวบรวมสิ่งของที่ได้พระราชทาน เหล่านั้นจัดทำเป็น “ พิพิธภัณฑ์เครื่องราชศรัทธา รัชกาลที่ 5 ” ขึ้นเพื่อเก็บดูแลรักษาสิ่งของเหล่านี้ให้ทรงคุณค่าอยู่ตราบนานเท่านาน และเพื่อให้คนรุ่นลูกรุ่น หลานได้ชม ได้ศึกษา รวมถึงร่วมกันอนุรักษ์ให้คงอยู่กับชาว “ วัดประดู่ ” ตลอดไป ตามประวัติว่า หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว ได้ เรียนทางแพทย์แผนโบราณ มีดหมอปราบภูติผีปีศาจ ทางมหาประสาน เชือกคาดชื่อตะขาบไฟหรือไส้หนุมาน มาจากหลวงพ่อแจ้ง วัดประดู่ นี่เอง

          

                     หลวงปู่แจ้งท่านรักษาคนด้วยตัวยาสมุนไพรเพียงไม่กี่ชนิดคือใบมะกากับข่าพร้อมคาถาเสก ถ้าคนที่มารักษายังไม่หมดอายุท่านจะรับรักษาและต้ม ยาให้กินแล้วโรคก็จะหายนอกเสียจากท่านตรวจดูแล้วรู้ว่าคนๆ นั้นหมดอายุท่านก็จะไม่รักษาให้และนอกจากยาใบมะกากับข่าเสกแล้ว สิ่งที่ขึ้นชื่อเมื่อเอ่ยถึงหลวง ปู่แจ้งอีกอย่างหนึ่งก็คือ “ น้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ” น้ำมนต์หลวงปู่แจ้งเล่ากันว่าเมื่อรดใครแล้วหายจากโรคทุกคน ไม่ว่าจะถูกคุณไสย ลมเพลมพัด เป็นบ้าเสียสติมา อย่างไร เมื่อมารดน้ำมนต์ที่วัดประดู่กลับไปแล้วหายทุกคนเรียกว่ามีความขลังและศักดิ์สิทธิ์มาก ผู้ที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับหลวงปู่แจ้งไว้มากที่สุดคือ “ ปู่ใหญ่ ยังมี สุข ” (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ท่านเคยเล่าเรื่องหลวงปู่แจ้งให้ใครหลายๆ คนฟังว่า ศาลารดน้ำมนต์ของหลวงปู่แจ้งมีขี้ตะไคร่จับมาก เวลาเดินต้องระวังลื่นหกล้ม เพราะวันๆ มีคนมาให้หลงงปู่รดน้ำมนต์เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันกระถางรดน้ำมนต์ของหลวงปู่ก็ยังอยู่ และได้ใส่น้ำมนต์ให้ญาติโยมได้นำไปดื่มกินเพื่อเป็นสิริ มงคล ตามคำบอกเล่าของผู้ที่นำน้ำมนต์ในอ่างเดิมของท่านไปใช้ต่างบอกว่า อาคมความศักดิ์สิทธิ์ของท่านที่ทำไว้กับกระถางน้ำมนต์ปลุกเสกยังคงเหมือนเดิม เปรียบกับพระเครื่องของพระคณาจารย์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพระผงสมเด็จหรือเหรียญของหลวงพ่อแต่ละองค์ บางองค์ท่านล่วงลับดับขันธุ์ไปแล้วแต่พุทธคุณใน วัตถุมงคลของท่านยังคงอยู่ ฉะนั้นน้ำมนต์ที่อยู่ในกระถางน้ำมนต์เดิมของหลวงปู่แจ้งจึงได้ศักดิ์สิทธิ์ มีญาติโยมนำไปประพรมเพื่อค้าขาย ต่างก็บอกเป็นเสียง เดียวกันว่าค้าขายดีผิดกับแต่ก่อน บางคนมือเจ็บ เท้าเจ็บ ปวดขานานเป็นแรมปี นำน้ำมนต์ของหลวงปู่ไปอาบกินก็หายเป็นปลิดทิ้ง ข้อมูลจากปู่ใหญ่เกี่ยวกับ หลวงปู่แจ้งยังมีอีกว่า สมัยก่อนครั้งที่หลวงปู่ยังมีชีวิตอยู่นั้นหลวงปู่มีเพื่อนสหธรรมิกที่สนิทใกล้ๆ กัน 3 องค์คือ หลวงปู่นวม วัดแจ้งเจริญ หลวงปู่นวมองค์นี้ ท่านเป็นที่นับถือของชาวกระเหรี่ยง เรียกว่าเป็น “เทพเจ้าของชาวกระเหรี่ยง ปีหนึ่งๆ ชาวกระเหรี่ยงจะพากันมานมัสการ กราบไหว้ปิดทองหลวงปู่นวมนับเป็น พันๆ หลายพันคน ชาวกระเหรี่ยงที่อยู่ตามเทือกเขาตะนาวศรีนับแต่กาญจนบุรี จนถึงประจวบคีรีขันธ์ชุมพรจะมากันหมด อีกองค์หนึ่งคือหลวงปู่คง วัดศรัทธา ราษฎร์ จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นอาจารย์ของหลวงปู่คง วัดบางกะพ้อม ยอดพระเกจิของ จังหวัดสมุทรสงคราม หลวงปู่ทั้ง 3 องค์นี้มักไปมาหาสู่กันเป็นประจำ บางที เจอปัญหาหนักท่านก็ช่วยกันแก้ไข พระคุณเจ้าเมื่อสมัยก่อนเมื่อพบกันจะถามภูมิธรรมภูมิสมาธิและทดลองวิชาความขลังกันอยู่เสมอ พระสมัยเก่าแม้ไม่โด่งดัง แต่ก็มีความศักดิ์สิทธิ์เกือบเท่าๆ กัน หลวงปู่ทั้ง 3 องค์นี้ก็เหมือนกัน มีอยู่คราวหนึ่งหลวงปู่แจ้งท่านได้ข้ามไปเยี่ยมหลวงปู่นวมที่วัดแจ้งเจริญ ท่านทั้งสองได้นั่ง สนทนาปัญหาธรรมและภูมิสมาธิ ก็มีชายคนหนึ่งแบกปืนผ่านศาลาที่ท่านทั้งสองนั่งอยู่ หลวงปู่นวมท่านก็ร้องว่า “ จะมายิงนกในวัดฉันรึ ” ชายคนถือปืนก็นั่ง ลงพร้อมทั้งกราบท่านทั้งสองแล้วบอกว่าไม่ได้ พูดเสร็จท่านก็เดินไปที่ต้นไม้ ยืนภาวนาอยู่สักครู่ท่านจึงเดินกลับมาที่ศาลาตามเดิมพร้อมทั้งสั่งให้คนที่ถือปืนยิง ไปที่ต้นไม้ต้นนั้น ชาวบ้านผู้นั้นเมื่อหลวงปู่สั่งให้ยิงก็ยิงเลย สมัยก่อนเป็นปืนลูกซองต้องขึ้นลำก่อน พอยิงออกไปสับเท่าไรก็ยิงไม่ออก หลวงปู่แจ้งท่านพูดขึ้นว่า “ ต้องเดินออกไปให้เสียเวลาทำไม เอ้า...ลองยิงต้นไม้ของฉันบ้าง ” ท่านก็ชี้ไปที่ต้นสนพร้อมทั้งเพ่งกระแสจิตไป ชาวบ้านผู้นั้นก็หันกระบอกปืนไปที่ต้นนั้น พร้อม กับลั่นกระสุนก็ยิงไม่ออกเช่นกัน หลวงปู่นวมหัวเราะชอบใจพูดว่า “ เขาก็แน่ดีเหมือนกันโว้ย ” อีกคราวหนึ่งพระท่านไปสวดอภิธรรมหมดวัด เหลือท่าน อยู่กับลูกศิษย์ ท่านจึงให้ลูกศิษย์นำผ้าอาบน้ำฝนมาและสั่งให้ช่วยกันฉีก ใครมีแรงมากเท่าใดก็ให้ดึงฉีกออก เด็กวัดต่างคนต่างดึง ต่างคนต่างฉีกเป็นชิ้นเล็กชิ้น น้อย หลวงปู่ก็ให้นำมากองรวมกันให้ดู ท่านก็หยิบมาวางในมือบริกรรมพระคาถาเป่าไปที่กองเศษผ้านั้น สักครู่หนึ่งท่านก็หยิบผ้าขึ้นสะบัดผ้านั้นก็ติดกลับ เป็น ผืนเดียวกันดังเดิมอย่างมหัศจรรย์ หลวงปู่ท่านก็ให้ลูกศิษย์ดึงผ้าเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยใหม่ปรากฏว่าดึงเท่าไรก็ดึงไม่ออก จนเหนื่อยแรงต้องยอมแพ้ท่าน กับอีกครั้ง หนึ่งหลวงปู่แจ้งท่านมีกิจถูกนิมนต์ไปทางเรือ ท่านก็ให้ลูกศิษย์พายหัวพายท้าย หลวงปู่ท่านได้ทำตะบันหมากตกน้ำซึ่งที่ตรงนั้นเป็นแม่น้ำใหญ่ ท่านไม่ยอมให้ ลูกศิษย์ลงงมเพราะเกรงจะเป็นอันตราย แต่ท่านได้เอาปูนแดงคาดไว้ตรงกับที่ตะบันหมากตก ซึ่งที่ตรงนั้นเป็นแม่น้ำใหญ่ พอกลับถึงวัดตรงท่าน้ำหน้าวัด ท่านจึง ค่อยสั่งให้ลูกศิษย์โดดลงงม หลวงปู่บอกว่ามันตกตรงนี้ แล้วท่านก็ชี้ลงตรงที่ท่านคาดปูนไว้ ผลปรากฏว่างมได้ตะบันหมากจริงๆ นับว่าวิชาของท่านขลัง และ ศักดิสิทธิ์มาก หลวงปู่แจ้งท่านเคยได้รับอาราธนาเข้าไปในวังอยู่ครั้งหนึ่ง เล่าว่าท่านได้เดินเงอะๆงะๆ เข้าไปถึงที่ประตูวัง ประกอบกับท่านคงห่มจีวรเก่าๆ ทำให้ ทหารยามที่ยืนเฝ้าปากประตูไม่ยอมให้ท่านเข้า ท่านก็บอกว่าในหลวงนิมนต์มาท่านจะเข้าไปสวดมนต์ ท่านว่าในหลวงนิมนต์ฉันมาฉันจะเข้าไปสวดมนต์ ดูสิฉัน ยังเตรียมพัดมาด้วยเลย พร้อมทั้งเปิดพัดให้ดูทหารยามถึงกับตกตะลึง เพราะตาลปัตรที่หลวงปู่ถือไม่ใช่พัดธรรมดา เป็นตาลปัตรมีตราประจำพระองค์ (พัดปักดิ้น ทองตราพระนารายณ์ทรงครุฑ) ทหารยามคนนั้นจึงต้องรีบนำหลวงปู่ไปส่งถึงด้านใน เมื่อไปถึงหลวงปู่ท่านนึกว่าท่านเป็นพระผู้น้อย ท่านจึงขึ้นนั่งบนอาสนะ หลังสุด ประกอบกับท่านไปถึงก่อนสังฆการีเห็นเข้าก็กราบบังคมทูลสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงว่าหลวงพ่อวัดประดู่มาแล้ว พระองค์ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หลวงปู่ขึ้นไปนั่งอันดับสองรองจากสมเด็จพระสังฆราช แต่นั่งหน้าสมเด็จพระราชาคณะระดับท่านเจ้าคุณหลายรูปด้วยกัน
                     หลวงพ่อแจ้งท่านเป็นเจ้าอาวาส องค์ที่ 4 มรณภาพประมาณปี 2465-2472

อัฐิของหลวงปู่แจ้ง ปัจจุบันมีสภาพเป็นสีดำสนิท      อัฐิของหลวงปู่แจ้ง ปัจจุบันมีสภาพเป็นสีดำสนิท      อัฐิของหลวงปู่แจ้ง ปัจจุบันมีสภาพเป็นสีดำสนิท

          

  อัฐิของหลวงปู่แจ้ง ปัจจุบันมีสภาพเป็นสีดำสนิท                                   ตำราของหลวงปู่แจ้ง ที่ตกทอดมาถึงพระมหาสุรศักดิ์  อติสกฺโข

 

เหรียญหลวงปู่แจ้ง รุ่นแรก

 

เหรียญหลวงปู่แจ้ง รุ่น อุดมมงคล (รศ.212) ปี 37 วัดประดู่ พระอารามหลวง

 

เหรียญหลวงปู่แจ้ง หลังหนุมาน ปี 47 ที่ระลึกพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์ รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้น 100 ปี

 

เหรียญหลวงพ่อแจ้ง / หลวงพ่อเปี่ยม รุ่นบูชาครู ปี 49

 

เหรียญหลวงปู่แจ้ง (มหาปราบ) หลังยันต์หมูทองแดง ปี 50 

 

เหรียญหลวงพ่อแจ้ง หลังหนุมานมหาปราบ ปี 50

 

รูปเหมือนขนาดบูชา หลวงปู่แจ้ง ปี 54

 

-------------------------------------------------------------------

 

 

               เหรียญเสมาหลวงปู่แจ้ง  ปุนฺยจนฺโท รุ่น " บูรณะปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ "  ปี 58 จัดสร้างเพื่อบูชาพระคุณหลวงปู่แจ้ง  ปุนฺยจนฺโท อดีตเจ้าอาวาสวัดประดู่ พระอารามหลวง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ซึ่งมีรายละเอียดในการจัดสร้างดังนี้.-
               1.เนื้อทองคำ จำนวน 9  ชุด ทำบุญชุดละ 80,000.-บาท (ประกอบด้วย 3 เหรียญ คือ เนื้อทองคำ , เนื้อเงิน และเนื้อนวโลหะ หมายเลขเดียวกันทั้งชุด)
               2.เนื้อเงิน จำนวน. 500  เหรียญ  ทำบุญเหรียญละ 1,500.-บาท
               3. เนื้อนวะ จำนวน 1,000  เหรียญ  ทำบุญเหรียญละ 500.-บาท
               4.เนื้อทองเหลือง จำนวน 5,000  เหรียญ ทำบุญเหรียญละ 200.-บาท
               5.เนื้อทองแดง จำนวน 30,000  เหรียญ (แจกเป็นที่ระลึกฯ)

 

 

ภาพขยาย....        ภาพขยาย....        ภาพขยาย....

ภาพขยาย....        ภาพขยาย....        ภาพขยาย....

ภาพขยาย....        ภาพขยาย....        ภาพขยาย....

ภาพขยาย....        ภาพขยาย....        ภาพขยาย....

โดยจัดพิธีในค่ำคืนวันที่ 25 กันยายน 2558 ตั้งแต่เวลา 18.00 น. เป็นต้นไปถึงเช้ามีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร
บทอิติปิโส 108 จบ สวดคาถาพุทธาภิเษก เมตตาใหญ่ และชินบัญชร และพุทธาภิเษกเดี่ยวโดย พระครูพิศาลจริยาภิรม (พระมหาสุรศักดิ์ อติสกฺโข)
ในวันที่ 26 กันยายน 2558 เวลา 08.40 น.ณ ศาลามหาปราบ วัดประดู่พระอารามหลวง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

 

 

 

   ขอขอบคุณ ข้อมูลโดย :: " ทีมงานปิดทองหลังพระ "   และศิษย์พระมหาสุรศักดิ์ ทุกท่านที่เอื้อเฟื้อข้อมูล
   ขอขอบคุณ ผู้สนับสนุนเช่าพื้นที่เว็บไซต์ และจดทะเบียนโดเมนเนม :: Tony Ma  (ปี 62 และปี 63)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

      ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บไซต์ " พระเกจิ.com "  ซึ่งได้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลประวัติความเป็นมาของพระเกจิยอดนิยม ทั้งในอดีต และปัจจุบันตลอดจนข้อมูลวัตถุมงคลต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาหาข้อมูล....