หน้าแรก... ตำนานวัดประดู่ หลวงพ่อใหญ่ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ประวัติ พระครูพิศาลจริยาภิรม (พระมหาสุรศักดิ์ อติสกฺโข) ไหว้พระ/ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด แผนที่ในการเดินทางไปวัด

ประวัติ พระครูพิศาลจริยาภิรม (พระมหาสุรศักดิ์ อติสกฺโข)

   ตำนานวัดประดู่ พระอารามหลวง
   หลวงพ่อใหญ่ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
   หลวงปู่แจ้ง  ปุณยจนฺโท
   ประวัติเจ้าอาวาส (พระมหาสุรศักดิ์ฯ)  
   สำนักเขาพระพุทธบาท (ราชบุรี)
   ธรรมะจากหลวงพ่อพระมหาสุรศักดิ์
   หัตถประติมากรรม " หุ่นดินสอพอง "
   พญาฉัททันต์ โพธิสัตว์
   CD เพลงชุด รวยแน่นๆ
   เว็บไซต์ www.watpradoo.com
   ติดต่อเราและแผนที่ / Facebook

   พระราชประวัติเสด็จประพาสต้น
   พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระสังฆราชฯ
   ศาลาเก๋งเรือ รัชกาลที่ 5
   พิพิธภัณฑ์เครื่องราชศรัทธา รัชกาลที่ 5
   ภาพวาดจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ 2
   ศูนย์สาธิตศิลปะการทำหัวโขน/เศียรครู
   ไหว้พระขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด

   ตะกรุดต่างๆ ของวัดประดู่ฯ
      มหาระงับปราบหงสา
      พระพุทธเจ้าตรึงไตรภพ
      มงกุฏพรหม         พิสมรใบลาน
      มหาปราบ            โภคทรัพย
      โสฬสมงคล         ตะกรุด 8 ดอก
      ลูกอม(โลกธาตุ)   จันทร์เพ็ญ
      ตาลยอดเหี้ยน       สาริกา    
      วัวกินนมเสือ  หนูกินนมแมว
      ดาวล้อมเดือน       ตะกรุดอื่นๆ
   พระกริ่งหลวงพ่อใหญ่ วัดประดู่ฯ
   พระกริ่ง รุ่น ธรรมราชา
   พระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ โสฬสมงคล
   พระกริ่งโภคทรัพย์ / พระกริ่งโลกธาตุ
   เหรียญเลื่อนสมณศักดิ์ (หลวงพ่อใหญ่)

   พระพรหม-พระวิษณุกรรม-พระพิราพ

   พระพิฆเนศ พระมหาสุรศักดิ์ฯ
   พระสังกัจจายน์ พระมหาสุรศักดิ์ฯ
   พระสิวลี รุ่น รวยแน่นๆ และรุ่นอื่นๆ
   เหรียญบรมครูพ่อแก่
   เหรียญที่ระลึกสำนักเขาพระพุทธบาท
   วัตถุมงคลหลวงปู่ทวด วัดประดู่ฯ
   เหรียญหลวงปู่แจ้ง และเหรียญอื่นๆ
   รูปเหมือนพระบูชาหลวงปู่แจ้งฯ
   เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก
   เหรียญรูปเหมือน รุ่น สันติสุข
   เหรียญรูปเหมือนหันข้าง รุ่น เศรษฐี
   รูปหล่อปั๊มรุ่นแรก พระมหาสุรศักดิ์ฯ
   รูปหล่อพระบูชารูปเหมือน 12 นิ้ว
   พระสมเด็จหล่อโภคทรัพย์ / ซุ้มประตู
   พระผงขุนแผน พระมหาสุรศักดิ์ฯ
   พระสมเด็จ / พระเนื้อผงพิมพ์ต่างๆ
   ล็อกเก็ต / รูปภาพ / ผ้ายันต์
   เบี้ยแก้ / พ่อขุนทะเล พระมหาสุรศักดิ์ฯ
   เข็มขัดตะขาบไฟฯ / เครื่องรางอื่นๆ
   วัตถุมงคลเพิ่มเติมอื่นๆ 

   VCD ตำนานวัดประดู่ฯ 
   บวร (บ้าน วัด โรงเรียน)
   ศาลาเก่าภาพวาดจิตรกรรมวัดประดู่ฯ
   หอศิลป์ วัดประดู่ฯ
   มัคคุเทศก์น้อย วัดประดู่ฯ
 

รูปปั้นหลวงปู่แจ้ง ตั้งเด่นอยู่ภายในพิพิธภัณฑ์เครื่องราชศรัทธา รัชกาลที่ 5

                    “ วัดประดู่ ” นั้นเป็นวัดโบราณ ไม่มีผู้ใดรู้ถึงประวัติที่แท้จริง ชาวบ้านในแถบนั้นสันนิษฐานว่าคงสร้างในราวปลายกรุงศรีอยุธยา ประมาณ พ.ศ.2320 จากการค้นคว้าทางวิชาการก็พอจะถือได้ว่า “ วัดประดู่ ” นี้เป็นวัดที่เก่าแก่วัดหนึ่งในย่านจังหวัดสมุทรสงคราม ตามประวัติวัดประดู่ อดีตเจ้าอาวาสที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสต้นมาที่วัดก็คือ “ หลวงปู่แจ้ง ” ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 4 มีผู้รู้ได้บันทึกเหตุการณ์ครั้งนั้นไว้ว่า... รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์พระองค์ท่านได้เสด็จประพาสต้นทางน้ำเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2447 โดยเรือพระที่นั่งผ่านคลองหน้าวัดประดู่ และได้แวะทำครัวเสวยพระกระยาหารเช้าเสด็จพระองค์ทรงนึกแปลกใจว่า เพราะเหตุใดชาวบ้านจึงได้มาชุมนุมกัน ณ ที่ศาลาท่าน้ำกันมาก จึงตรัสให้กรมพระยาดำรงราชานุภาพไปสอบถามพวกชาวบ้านที่มาชุมนุมกันจึงได้ความว่า “ หลวงปู่แจ้ง ” เจ้าอาวาสวัดประดู่แห่งนี้ท่านเป็นพระที่มีวิชาอาคมสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ และที่เลื่องชื่อที่สุดก็คือน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ บุคคลใดที่โดนผีเข้าหรือโดนคุณไสยถ้าได้มาเจอน้ำมนต์ของหลวงปู่แจ้งแล้วจะได้ผลทุกรายไป ผีตัวใดก็ไม่อาจทนอยู่ได้ ส่วนยาศักดิ์สิทธิ์นั้นก็เช่นกัน ทำขึ้นจากใบมะกาใช้คู่กับน้ำมนต์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบความจากกรมพระยาดำรงราชานุภาพแล้วท่านก็ทรงเสด็จออกจากวัดประดู่ จากนั้นมาไม่นาน “ หลวงปู่แจ้ง ” ก็ได้รับนิมนต์เข้าไปในพระราชวังเพื่อรักษา “ พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นภูธเรศดำรงค์ศักดิ์ ” เมื่อ “ หลวงปู่แจ้ง ” ถวายการรักษาเสร็จจนมีพระอาการดีขึ้น ทำให้พระองค์ทรงเลื่อมใสในความสามารถของหลวงปู่ ก่อนที่หลวงปู่จะลากลับจึงทรงพระราชทานเครื่องอัฏฐบริขาร เตียงบรรทม เก๋งเรือ ปิ่นโต ฯลฯ ให้เป็นที่ระลึก การที่องค์พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จมายังวัดประดู่ตามประวัติศาสตร์นั้นพระองค์ได้ทรงถวายเครื่องราชศรัทธาที่น่าสนใจไว้แก่วัดอีกหลายชิ้นด้วยกัน ทางวัดประดู่จึงได้รวบรวมสิ่งของที่ได้พระราชทานเหล่านั้นจัดทำเป็น “ พิพิธภัณฑ์เครื่องราชศรัทธา รัชกาลที่ 5 ” ขึ้นเพื่อเก็บดูแลรักษาสิ่งของเหล่านี้ให้ทรงคุณค่าอยู่ตราบนานเท่านาน และเพื่อให้คนรุ่นลูกรุ่นหลานได้ชม ได้ศึกษา รวมถึงร่วมกันอนุรักษ์ให้คงอยู่กับชาว “ วัดประดู่ ” ตลอดไป ตามประวัติว่า หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว ได้ เรียนทางแพทย์แผนโบราณ มีดหมอปราบภูติผีปีศาจ ทางมหาประสาน เชือกคาดชื่อตะขาบไฟหรือไส้หนุมาน มาจากหลวงพ่อแจ้ง วัดประดู่ นี่เอง

          

                     หลวงปู่แจ้งท่านรักษาคนด้วยตัวยาสมุนไพรเพียงไม่กี่ชนิดคือใบมะกากับข่าพร้อมคาถาเสก ถ้าคนที่มารักษายังไม่หมดอายุท่านจะรับรักษาและต้มยาให้กินแล้วโรคก็จะหายนอกเสียจากท่านตรวจดูแล้วรู้ว่าคนๆ นั้นหมดอายุท่านก็จะไม่รักษาให้และนอกจากยาใบมะกากับข่าเสกแล้ว สิ่งที่ขึ้นชื่อเมื่อเอ่ยถึงหลวงปู่แจ้งอีกอย่างหนึ่งก็คือ “ น้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ” น้ำมนต์หลวงปู่แจ้งเล่ากันว่าเมื่อรดใครแล้วหายจากโรคทุกคน ไม่ว่าจะถูกคุณไสย ลมเพลมพัด เป็นบ้าเสียสติมาอย่างไร เมื่อมารดน้ำมนต์ที่วัดประดู่กลับไปแล้วหายทุกคนเรียกว่ามีความขลังและศักดิ์สิทธิ์มาก ผู้ที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับหลวงปู่แจ้งไว้มากที่สุดคือ “ ปู่ใหญ่ ยังมีสุข ” (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ท่านเคยเล่าเรื่องหลวงปู่แจ้งให้ใครหลายๆ คนฟังว่า ศาลารดน้ำมนต์ของหลวงปู่แจ้งมีขี้ตะไคร่จับมาก เวลาเดินต้องระวังลื่นหกล้มเพราะวันๆ มีคนมาให้หลงงปู่รดน้ำมนต์เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันกระถางรดน้ำมนต์ของหลวงปู่ก็ยังอยู่และได้ใส่น้ำมนต์ให้ญาติโยมได้นำไปดื่มกินเพื่อเป็นสิริมงคล ตามคำบอกเล่าของผู้ที่นำน้ำมนต์ในอ่างเดิมของท่านไปใช้ต่างบอกว่า อาคมความศักดิ์สิทธิ์ของท่านที่ทำไว้กับกระถางน้ำมนต์ปลุกเสกยังคงเหมือนเดิม เปรียบกับพระเครื่องของพระคณาจารย์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพระผงสมเด็จหรือเหรียญของหลวงพ่อแต่ละองค์ บางองค์ท่านล่วงลับดับขันธุ์ไปแล้วแต่พุทธคุณในวัตถุมงคลของท่านยังคงอยู่ ฉะนั้นน้ำมนต์ที่อยู่ในกระถางน้ำมนต์เดิมของหลวงปู่แจ้งจึงได้ศักดิ์สิทธิ์ มีญาติโยมนำไปประพรมเพื่อค้าขาย ต่างก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่าค้าขายดีผิดกับแต่ก่อน บางคนมือเจ็บ เท้าเจ็บ ปวดขานานเป็นแรมปี นำน้ำมนต์ของหลวงปู่ไปอาบกินก็หายเป็นปลิดทิ้ง ข้อมูลจากปู่ใหญ่เกี่ยวกับหลวงปู่แจ้งยังมีอีกว่า สมัยก่อนครั้งที่หลวงปู่ยังมีชีวิตอยู่นั้นหลวงปู่มีเพื่อนสหธรรมิกที่สนิทใกล้ๆ กัน 3 องค์คือ หลวงปู่นวม วัดแจ้งเจริญ หลวงปู่นวมองค์นี้ท่านเป็นที่นับถือของชาวกระเหรี่ยง เรียกว่าเป็น “เทพเจ้าของชาวกระเหรี่ยง ปีหนึ่งๆ ชาวกระเหรี่ยงจะพากันมานมัสการกราบไหว้ปิดทองหลวงปู่นวมนับเป็นพันๆ หลายพันคน ชาวกระเหรี่ยงที่อยู่ตามเทือกเขาตะนาวศรีนับแต่กาญจนบุรี จนถึงประจวบคีรีขันธ์ชุมพรจะมากันหมด อีกองค์หนึ่งคือหลวงปู่คง วัดศรัทธาราษฎร์ จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นอาจารย์ของหลวงปู่คง วัดบางกะพ้อม ยอดพระเกจิของ จังหวัดสมุทรสงคราม หลวงปู่ทั้ง 3 องค์นี้มักไปมาหาสู่กันเป็นประจำ บางทีเจอปัญหาหนักท่านก็ช่วยกันแก้ไข พระคุณเจ้าเมื่อสมัยก่อนเมื่อพบกันจะถามภูมิธรรมภูมิสมาธิและทดลองวิชาความขลังกันอยู่เสมอ พระสมัยเก่าแม้ไม่โด่งดังแต่ก็มีความศักดิ์สิทธิ์เกือบเท่าๆ กัน หลวงปู่ทั้ง 3 องค์นี้ก็เหมือนกัน มีอยู่คราวหนึ่งหลวงปู่แจ้งท่านได้ข้ามไปเยี่ยมหลวงปู่นวมที่วัดแจ้งเจริญ ท่านทั้งสองได้นั่งสนทนาปัญหาธรรมและภูมิสมาธิ ก็มีชายคนหนึ่งแบกปืนผ่านศาลาที่ท่านทั้งสองนั่งอยู่ หลวงปู่นวมท่านก็ร้องว่า “จะมายิงนกในวัดฉันรึ” ชายคนถือปืนก็นั่งลงพร้อมทั้งกราบท่านทั้งสองแล้วบอกว่าไม่ได้ พูดเสร็จท่านก็เดินไปที่ต้นไม้ ยืนภาวนาอยู่สักครู่ท่านจึงเดินกลับมาที่ศาลาตามเดิมพร้อมทั้งสั่งให้คนที่ถือปืนยิงไปที่ต้นไม้ต้นนั้น ชาวบ้านผู้นั้นเมื่อหลวงปู่สั่งให้ยิงก็ยิงเลย สมัยก่อนเป็นปืนลูกซองต้องขึ้นลำก่อน พอยิงออกไปสับเท่าไรก็ยิงไม่ออก หลวงปู่แจ้งท่านพูดขึ้นว่า “ ต้องเดินออกไปให้เสียเวลาทำไม เอ้า...ลองยิงต้นไม้ของฉันบ้าง ” ท่านก็ชี้ไปที่ต้นสนพร้อมทั้งเพ่งกระแสจิตไป ชาวบ้านผู้นั้นก็หันกระบอกปืนไปที่ต้นนั้นพร้อมกับลั่นกระสุนก็ยิงไม่ออกเช่นกัน หลวงปู่นวมหัวเราะชอบใจพูดว่า “ เขาก็แน่ดีเหมือนกันโว้ย ” อีกคราวหนึ่งพระท่านไปสวดอภิธรรมหมดวัด เหลือท่านอยู่กับลูกศิษย์ ท่านจึงให้ลูกศิษย์นำผ้าอาบน้ำฝนมาและสั่งให้ช่วยกันฉีก ใครมีแรงมากเท่าใดก็ให้ดึงฉีกออก เด็กวัดต่างคนต่างดึง ต่างคนต่างฉีกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย หลวงปู่ก็ให้นำมากองรวมกันให้ดู ท่านก็หยิบมาวางในมือบริกรรมพระคาถาเป่าไปที่กองเศษผ้านั้น สักครู่หนึ่งท่านก็หยิบผ้าขึ้นสะบัดผ้านั้นก็ติดกลับเป็นผืนเดียวกันดังเดิมอย่างมหัศจรรย์ หลวงปู่ท่านก็ให้ลูกศิษย์ดึงผ้าเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยใหม่ปรากฏว่าดึงเท่าไรก็ดึงไม่ออก จนเหนื่อยแรงต้องยอมแพ้ท่าน กับอีกครั้งหนึ่งหลวงปู่แจ้งท่านมีกิจถูกนิมนต์ไปทางเรือ ท่านก็ให้ลูกศิษย์พายหัวพายท้าย หลวงปู่ท่านได้ทำตะบันหมากตกน้ำซึ่งที่ตรงนั้นเป็นแม่น้ำใหญ่ ท่านไม่ยอมให้ลูกศิษย์ลงงมเพราะเกรงจะเป็นอันตราย แต่ท่านได้เอาปูนแดงคาดไว้ตรงกับที่ตะบันหมากตก ซึ่งที่ตรงนั้นเป็นแม่น้ำใหญ่ พอกลับถึงวัดตรงท่าน้ำหน้าวัด ท่านจึงค่อยสั่งให้ลูกศิษย์โดดลงงม หลวงปู่บอกว่ามันตกตรงนี้ แล้วท่านก็ชี้ลงตรงที่ท่านคาดปูนไว้ ผลปรากฏว่างมได้ตะบันหมากจริงๆ นับว่าวิชาของท่านขลังและศักดิสิทธิ์มาก หลวงปู่แจ้งท่านเคยได้รับอาราธนาเข้าไปในวังอยู่ครั้งหนึ่ง เล่าว่าท่านได้เดินเงอะๆงะๆ เข้าไปถึงที่ประตูวัง ประกอบกับท่านคงห่มจีวรเก่าๆ ทำให้ทหารยามที่ยืนเฝ้าปากประตูไม่ยอมให้ท่านเข้า ท่านก็บอกว่าในหลวงนิมนต์มาท่านจะเข้าไปสวดมนต์ ท่านว่าในหลวงนิมนต์ฉันมาฉันจะเข้าไปสวดมนต์ ดูสิฉันยังเตรียมพัดมาด้วยเลย พร้อมทั้งเปิดพัดให้ดูทหารยามถึงกับตกตะลึง เพราะตาลปัตรที่หลวงปู่ถือไม่ใช่พัดธรรมดา เป็นตาลปัตรมีตราประจำพระองค์ (พัดปักดิ้นทองตราพระนารายณ์ทรงครุฑ) ทหารยามคนนั้นจึงต้องรีบนำหลวงปู่ไปส่งถึงด้านใน เมื่อไปถึงหลวงปู่ท่านนึกว่าท่านเป็นพระผู้น้อย ท่านจึงขึ้นนั่งบนอาสนะหลังสุด ประกอบกับท่านไปถึงก่อนสังฆการีเห็นเข้าก็กราบบังคมทูลสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงว่าหลวงพ่อวัดประดู่มาแล้ว พระองค์ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้หลวงปู่ขึ้นไปนั่งอันดับสองรองจากสมเด็จพระสังฆราช แต่นั่งหน้าสมเด็จพระราชาคณะระดับท่านเจ้าคุณหลายรูปด้วยกัน

                     หลวงพ่อแจ้งท่านเป็นเจ้าอาวาส องค์ที่ 4 มรณภาพประมาณปี 2465-2472

อัฐิของหลวงปู่แจ้ง ปัจจุบันมีสภาพเป็นสีดำสนิท      อัฐิของหลวงปู่แจ้ง ปัจจุบันมีสภาพเป็นสีดำสนิท      อัฐิของหลวงปู่แจ้ง ปัจจุบันมีสภาพเป็นสีดำสนิท

          

  อัฐิของหลวงปู่แจ้ง ปัจจุบันมีสภาพเป็นสีดำสนิท                                   ตำราของหลวงปู่แจ้ง ที่ตกทอดมาถึงพระมหาสุรศักดิ์  อติสกฺโข

 

เหรียญหลวงปู่แจ้ง รุ่นแรก

เหรียญหลวงปู่แจ้ง รุ่น อุดมมงคล (รศ.212) ปี 37 วัดประดู่ พระอารามหลวง

เหรียญหลวงปู่แจ้ง หลังหนุมาน ปี 47 ที่ระลึกพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์ รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้น 100 ปี

เหรียญหลวงพ่อแจ้ง / หลวงพ่อเปี่ยม รุ่นบูชาครู ปี 49

เหรียญหลวงปู่แจ้ง (มหาปราบ) หลังยันต์หมูทองแดง ปี 50 

เหรียญหลวงพ่อแจ้ง หลังหนุมานมหาปราบ ปี 50

รูปเหมือนขนาดบูชา หลวงปู่แจ้ง ปี 54

 

 

 

:: ขอขอบคุณ คณะศิษย์วัดประดู่ ทุกท่าน...ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล :: Web Design Factory